Crowdsourcing 3 : ปัญญารวมหมู่ Crowd wisdom

by Little Bear @15 พ.ค. 55 19:16 ( IP : 122...111 ) | Tags : Crowdsourcing
photo  , 400x626 pixel , 67,373 bytes.

Crowdsourcing 3 : ปัญญารวมหมู่ Crowd wisdom

เจมส์ สุโรเวกกี้ (James Surowiecki) เขียนแนวคิดเกี่ยวกับปัญญารวมหมู่ไว้ในหนังสือเรื่อง “The Wisdom of Crowds” เมื่อปี ค.ศ. 2004 ว่า

“After all, think about what happens if you ask a hundred people to run a 100-meter race, and then average their times. The average time will not be better than the time of the fastest runners. It will be worse. It will be a mediocre time. But ask a hundred people to answer a question or solve a problem, and the average answer will often be at least as good as the answer of the smartest member. With most things, the average is mediocrity. With decision making, it’s often excellence. You could say it’s as if we’ve been programmed to be collectively smart.” (James Surowiecki,2004)

ระดับของความสำเร็จในการแก้ปัญหานั้นขึ้นอยู่ปริมาณของผู้คนจำนวนมากที่เข้ามาร่วมแก้ปัญหา หากเราขอให้คนร้อยคนวิ่งแข่งร้อยเมตรแล้วหาเวลาเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยของเวลาจะไม่มีทางดีกว่าเวลาของคนที่วิ่งเร็วที่สุด แต่ถ้าขอให้คนร้อยคนมาตอบปัญหาหรือแก้ปัญหาสักอย่างแล้ว ค่าเฉลี่ยของของคำตอบมักจะอย่างน้อยก็ดีเทียบเท่ากับคำตอบของคนที่ฉลาดที่สุดในกลุ่ม กับเรื่องส่วนใหญ่แล้วค่าเฉลี่ยของการตัดสินใจของคนธรรมดามักจะยอดเยี่ยม สิ่งนี้เรียกว่า ความฉลาดรวมหมู่ (collectively smart)

สุโรเวกกี้ได้หยิบยกประเด็นเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่ามวลชนได้พิสูจน์ตนเองแล้วว่าพวกเขาฉลาดกว่าสมาชิกที่ฉลาดที่สุด เช่น มวลชนตามงานออกร้านในชนบทของอังกฤษสามารถทายน้ำหนักของวัวที่ได้รางวัลโดยคลาดเคลื่อนไม่เกิน 1 ปอนด์ หรือผู้ชมรายการเกมส์โชว์ Who Wants to Be a Millionaire สามารถเอาชนะผู้เชี่ยวชาญที่เดาคำตอบได้ถูกต้องเพียง 65% ในขณะที่ผู้ชมกลับเดาคำตอบได้ถูกต้องถึง 91% โดยหลักการมาจากว่า หากคนเพียงไม่กี่คนในกลุ่มรู้คำตอบ ก็จะส่งผลให้กลุ่มสามารถทายคำตอบได้ถูกต้อง โดยคำตอบที่มีคนตอบมากที่สุดมักจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ปัญญารวมหมู่ในความหมายของ เจฟฟ์ ฮาวี เป็นการรวบรวมความรู้จากหลาย ๆ คนเพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหา ทำนายผลลัพท์ในอนาคต หรือควบคุมทิศทางกลยุทธขององค์กร เป็นรูปแบบการรับรู้เป็นกลุ่มที่คล้ายคลึงกับการทำงานภายในอาณาจักรมด ซึ่งมดแต่ละตัวต่างทำงานเสมือนเป็นเซลล์ในสิ่งมีชีวิตตัวเดียวกัน หรือการเลือกตั้งของมนุษย์ที่คนหลายล้านคนต่างลงคะแนนเพื่อให้ได้มติเพียงหนึ่งเดียว (เจฟฟ์ ฮาวี,2008:163)

Relate topics