ก๊วนซอฟท์แวร์ </softganz> SoftGang (Gang Software)

Web &amp; Software Developer Gang.

613 items|« First « Prev 17 18 (19/62) 20 21 Next » Last »|
โดย Little Bear on 18 มี.ค. 57 22:07

ข้อที่ 1: เทรดโดยไม่มีหลักการ

“ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าทำไมคุณถึงซื้อหุ้นตัวนั้น คุณก็จะไม่รู้ว่าควรขายมันตอนไหน ซึ่งนั่นมักจะทำให้คุณขายหุ้นทิ้งตอนที่ราคาของมันทำให้คุณกลัว ทั้งๆที่โดยส่วนมากแล้ว เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณกลัวราคาหุ้นในขณะนั้น มันคือโอกาสซื้อ ไม่ใช่จุดบ่งชี้ว่าคุณควรขายมันทิ้ง”

– Martin Taylor – ถ้าคุณไม่มีจุดยืน คุณก็ไม่มีแก่นหรือสิ่งใดให้ยึดถือปฏิบัติ ถ้าคุณไม่มีเป้าหมายว่าจะไปที่ใด คุณก็ไม่มีวันไปถึงจุดหมาย… จงกำหนดหลักการ วางแผนการลงทุน และทำตามแผนที่คุณวางไว้เสมอ เพราะถ้าคุณไม่มีแผนการของตนเอง คุณก็จะต้องตกอยู่ในแผนการของคนอื่น

ข้อที่ 2: เข้าซื้อหุ้นไม้ใหญ่เกินไป (Trading too big)

“นักลงทุนมักจะให้ความสำคัญเกือบทั้งหมดไปที่จุดเข้าซื้อ (entry price) ทั้งๆที่โดยส่วนมากแล้ว ขนาดของ lot (entry size ) ในแต่ละครั้งมีความสำคัญกว่าจุดเข้าซื้อ เพราะหาก entry size แต่ละครั้งใหญ่มากเกินไป เวลาที่ราคาปรับตัวลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ มันก็มักจะทำให้คุณกลัวและอกออเดอร์ก่อนทั้งที่ยังมีแนวโน้มดีนั้นทิ้งไป ดังนั้น ยิ่งขนาดของ lotใหญ่มากไปเท่าไร ความกลัวจะเข้ามาครอบงำการตัดสินใจของคุณ แทนที่จะตัดสินใจจากแผนการและประสบการณ์ที่พิจารณาอย่างดีแล้ว”

– Steve Clark – การเทรดครั้งเดียวใน lot ที่ถือว่ามีสัดส่วนที่เยอะของพอร์ต จะทำให้คุณขายหมูเพราะความกลัวของคุณ ไม่ใช่เพราะระบบลงทุนของคุณบอกให้ขาย ดังนั้น ก่อนที่จะเทรด คุณควรกำหนดจำนวนเงินที่คุณสามารถยอมรับขาดทุนได้ให้อยู่ในระดับที่ไม่เสี่ยงมากไป ตัวอย่างเช่น เงินในพอร์ตมี 1000$ คุณยอมรับขาดทุนได้ 200$/ครั้ง โดยที่จุดตัดขาดทุนของคุณคือ เมื่อราคาทะลุแนวต้านล่าสุดของเมื่อวานไป

ข้อที่ 3: ซื้อขายมากเกินไป (Overtrading)

การที่เราจะเทรดบ่อยขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับแนวทางการลงทุนของเรา แต่ไม่ว่าคุณจะใช้แนวทางลงทุนแบบไหนก็ตาม การซื้อขายน้อยครั้งย่อมดีกว่าเสมอ (less is more) อย่าเพิ่งเข้าใจผมผิดไป เพราะไม่ว่าคุณจะทำการบ้านหรือเตรียมตัวมาอย่างดีแค่ไหนก็ตาม แต่กราฟนั้นก็มักจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอยู่บ่อยๆ ดังนั้น คุณควรจะมีไอเดียหรือกราฟที่จะเลือกลงทุนมากกว่า 1 ตัวอยู่เสมอ แต่การที่คุณซื้อๆขายๆในค่าเงินทุกตัวที่เกิดสัญญาณ ทำให้เงินลงทุนและพลังงานของคุณถูกกระจายออกไปในกราฟหลายตัวมากจนเกินไปนั้น คงไม่ใช่การตัดสินใจที่ฉลาดนัก คุณควรยึดมั่นอยู่กับสิ่งที่คุณรู้และเข้าใจ เลือกใช้วิธีการที่คุณทำแล้วได้ผล อย่าหลงไปตามกระแสข่าวลือหรือการลงทุนที่คุณไม่ได้เปรียบ และหลีกเลี่ยงการลงทุนใดๆก็ตามที่คุณไม่ได้มีความเข้าใจในสิ่งนั้นเลยแม้แต่น้อย “ในบางครั้ง การเทรดที่ดีที่สุดก็คือ การไม่เทรดเลย และตั้งมั่นอยู่ระบบที่เราถือ” ผมรู้ดีว่าในช่วงตลาดกระทิงดุนั้น มันมีสิ่งที่เย้ายวนใจมากที่จะทำให้คุณเทรดบ่อยครั้ง เมื่อกราฟเกือบทุกตัวขึ้นไปทะลุ High เดิม คุณรู้สึกเหมือนเด็กที่อยู่ในร้านขนมหวานแล้วไม่รู้จะเลือกหยิบขนมชิ้นไหนดี จงเลือกกราฟเพียงไม่กี่ตัวในจังหวะเวลาที่เหมาะสม อย่าพยายามที่จะไล่เทรดทุกตัว เพราะคุณไม่สามารถทำได้ (ยกเว้นว่าคุณเป็นคอมพิวเตอร์!!!) เบื้องหลังของความผิดพลาดในข้อที่ 2 และ ข้อที่ 3 มักจะเกิดจากความมั่นใจที่มากเกินไปถึงแม้้ว่าความมั่นใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ในการทำตามแผนและระบบลงทุนของคุณ แต่ถ้ามีความมั่นใจที่มากเกินพอดี (Overconfidence) มันจะก่อให้เกิดผลเสีย เพราะความมั่นใจที่มากเกินไปนั้น เป็น 1 ในเหตุผลสำคัญที่ว่า ทำไมนักลงทุนและนักเก็งกำไรที่มีประสบการณ์จึงยังสามารถขาดทุนได้ เมื่อไรก็ตามที่คุณรู้สึกว่า ความสำเร็จของคุณในตลาดมาจากการที่คุณเป็นอัจฉริยะ ไม่ได้มาจากความคิดที่รอบคอบและไตร่ตรองอย่างระมัดระวังในการลงทุน ก็เท่ากับว่าคุณใกล้ถึงเวลาที่จะขาดทุนแล้ว

ข้อที่ 4: เฝ้าดูกราฟมากเกินไป (Watching your stocks too closely)

“การเฝ้ามองกราฟบนหน้าจอทั้งวันนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆและเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ผมเชื่อว่าการเฝ้าดูทุกคำสั่งซื้อขายจะทำให้คุณขายหมูก่อนเวลาอันควร และ มักทำให้คุณ buy ในราคาที่สูงเกินไปหรือ sell ในราคาที่ต่ำเกินไปของวันนั้น รวมถึงทำการ Overtrading ผมแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการเฝ้ามองกราฟตลอดเวลา และหันไปทำสิ่งอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุนและต่อตัวของคุณเองในช่วงเวลาซื้อขาย เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเหล่านั้น”

  • Steve Clark – “หากคุณใช้เวลาอยู่ในร้านตัดผมสักพักหนึ่ง ไม่ช้าก็เร็วคุณจะคิดว่าคุณต้องตัดผม ทั้งๆที่คุณหัวล้าน”

– Warren Buffett – การเฝ้ามองกราฟอย่างใกล้ชิดจะทำให้เกิดผลเสียต่อผลตอบแทนของคุณ เมื่อคุณเข้าเข้าเทรดแล้ว คุณไม่ควรซื้อขายเพียงเพราะเห็นคำสั่งซื้อขายเล็กๆน้อยๆที่สวนทางกับ Position ของคุณ การเฝ้ามองกราฟมากเกินไปนั้น ก็เปรียบเหมือนคุณนั่งอยู่ในร้านเบเกอรี่แสนอร่อยขณะที่คุณกำลังลดความอ้วน ดังนั้น คุณควรหาสิ่งอื่นทำแทนที่จะนั่งเฝ้าดูกราฟทั้งวัน อย่างเช่นการอ่านหนังสือ ออกกำลังกาย หรือ อะไรก็ตามที่ทำให้ไม่ต้องยุ่งกับการดูราคาหุ้นระหว่างวันมากเกินไป หากคุณยังสงสัยอยู่ว่า ก็ผมเป็นเทรดเดอร์แล้วจะไม่ให้เฝ้าหน้าจอได้อย่างไร? ผมขอทิ้งท้ายไว้ด้วยคำคมของ โซรอส นะครับ ลองเอาไปเปรียบเทียบกับการเทรดดู “ถ้าคุณออกไปทำงานทุกวัน เพียงเพราะคิดว่าคุณต้องทำอะไรซักอย่าง ผลก็คือ มันทำให้คุณมักจะทำสิ่งที่ไม่มีประโยชน์อะไรเพื่อไม่ให้เบื่อไปวันๆ ซึ่งผมคิดว่าคุณควรจะอยู่เฉยๆดีกว่า ปกติแล้วผมจะไปทำงานเฉพาะเวลาที่มีงานให้ทำ ในเวลาที่มันควรค่าแก่การทำจริงๆ ผลก็คือ ผมเรียนรู้ที่จะสามารถแยกแยะได้ว่า วันไหนที่มีงานสำคัญกว่าวันอื่นๆ และรู้ว่าเวลาไหนที่ควรมุ่งมั่นกับงานเป็นพิเศษ”


Credit : www.thaiforexschool ผ่าน www.stock2morrow.com

โดย Little Bear on 18 มี.ค. 57 21:44

ในการลงทุนนั้น การหยุดการสั่งซื้อมีความสำคัญพอๆกับการสั่งซื้อ ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำจาก ฟิลิป ฟิชเชอร์ ในเรื่องที่คุณไม่พึงกระทำ

1. อย่าเน้นในเรื่องการกระจายความเสี่ยงมากจนเกินเหตุ

ที่ปรึกษาการลงทุนหลายๆคนและนักสื่อสารด้านการลงทุน ได้อธิบายความถึงข้อดีของการกระจายตวามเสี่ยง โดยยกเอาประโยคที่น่าสนใจและจดจำง่ายนี้ขึ้นมาพูดอยู่เสมอๆ อย่าใส่ไข่หลายๆฟองของท่านไว้ในตระกร้าใบเดียว

อย่างไรก็ตาม ฟิชเชอร์ ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ท่านใส่ไข่หลายฟองของท่านไว้ในตระกร้าใบโน้นบ้างใบนี้บ้าง ก็ไม่แน่เสมอไปว่าไข่ทั้งหมดทุกฟองจะอยู่ในที่ปลอดภัยดี อีกทั้งยังยากต่อการเฝ้าติดตามดูไข่ทุกฟองนั้น

ฟิชเชอร์, เป็นผู้ซึ่งถือหุ้นไม่เกิน 30 ตัวเป็นอย่างมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดของอาชีพ, มีคำตอบที่ดีกว่าดังนี้คือ

"ให้เสียสละเวลาค้นคว้าและทำความเข้าใจบริษัทหนึ่งๆอย่างถ้วนถี่ และถ้าหากเป็นที่แน่ชัดว่าบริษัทดังกล่าวเข้าเกณฑ์ 15 ข้อที่เขาตั้งเป็นเกณฑ์กำหนดไว้ครบถ้วน คุณควรที่จะลงทุนในปริมาณมากๆ"

ฟิชเชอร์ เห็นด้วยกับคำพูดของ มาร์ค ทเวน ที่ว่า ใส่ไข่ทั้งหมดทุกฟองของคุณไว้ในตระกร้าใบเดียว และเฝ้าดูแลตระกร้านั้นให้ดี

2. อย่าแห่ตามฝูงชน

การเฮโลไปกับฝูงชนโดยลงทุนในหุ้นที่กำลังอยู่ในความนิยม อย่างเช่น หุ้นกลุ่ม?นิฟตี้ ฟิฟตี้? (หุ้น 50 ตัวที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนสถาบัน)ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 หรือหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ในช่วงปลายทศวรรษปี 1990 เป็นอันตรายต่อสุขภาพการเงินของคุณได้

ในทางตรงกันข้าม การค้นคว้าหาข้อมูลในหุ้นกลุ่มที่ฝูงชนละเลยไม่ให้ความสนใจ ก็สามารถสร้างผลกำไรให้สูงมากๆได้

ครั้งหนึ่ง เซอร์ ไอแซ๊ค นิวตัน เคยพูดยอมรับอย่างเศร้าใจว่า เขาสามารถที่จะคำนวณการเคลื่อนไหวของวัตถุต่างๆที่ตกมาจากท้องฟ้าได้ แต่กับความบ้าคลั่งของฝูงชนนั้น เขาไม่อาจจะทำได้ ฟิชเชอร์ เห็นด้วยอย่างจริงใจกับคำกล่าวนี้

3. อย่าคิดเล็กคิดน้อย

หลังจากได้ศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง และคุณได้พบบริษัทที่คุณมั่นใจว่าจะเจริญเติบโตอย่างแน่นอนในช่วง 10 ปีข้างหน้า และราคาหุ้นปัจจุบันเสนอขายในราคาเหมาะสม คุณควรจะรอหรือละเว้นการลงทุนของคุณเพื่อให้ราคาลงมาต่ำกว่าที่เป็นอยู่ขณะ นั้นอีกซักไม่กี่เพนนีดีกว่า?

ฟิชเชอร์ ได้เล่าเรื่องของนักลงทุนที่ชำนิชำนาญคนหนึ่ง ที่ต้องการจะซื้อหุ้นของบริษัทหนึ่งซึ่งในวันนั้นราคาหุ้นปิดที่ 35.5 เหรียญต่อหุ้น อย่างไรก็ตามนักลงทุนผู้นี้ตั้งใจว่าจะไม่ซื้อหุ้นตัวนั้นจนกว่าราคาจะลดลง มาอยู่ที่ 35 เหรียญ ซึ่งหลังจากวันนั้น หุ้นตัวนี้ไม่เคยมีราคาต่ำกว่า 35 เหรียญอีกเลย

และต่อมาอีก 25 ปี มูลค่าของหุ้นได้เพิ่มขึ้นเป็น 500 เหรียญต่อหุ้น นักลงทุนผู้นี้พลาดโอกาสที่จะได้ส่วนต่างราคาที่มากมายมหาศาลไปอย่างน่า เสียดาย เพียงแค่ต้องการประหยัดต้นทุนอีก 50 เซนต์ต่อหุ้น

แม้แต่ วอร์เร็น บัฟเฟตต์ เอง ก็มักจะปล่อยให้เกิดความผิดพลาดทางจิตใจในแบบนี้เช่นกัน

บัฟเฟตต์ เคยเริ่มซื้อ วอลมาร์ท เมื่อหลายปีก่อนหน้านั้น แต่ก็หยุดซื้อเมื่อราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นอีกเพียงเล็กน้อย บัฟเฟตต์ ยอมรับว่าความผิดพลาดอันนี้ทำให้ เบิร์กไชร์ แฮทธาเวย์ สูญเสียกำไรที่ควรจะเป็นไปราว 1 หมื่นล้านเหรียญ

แม้แต่นักทำนายผู้ปราดเปรื่องแห่งโอมาฮา ยังน่าได้รับประโยชน์จากข้อแนะนำของ ฟิชเชอร์ ข้อนี้ที่ว่า อย่าคิดเล็กคิดน้อย

สิ่งสำคัญที่นักลงทุนทั้งหลายไม่พึงกระทำ

โดย : PP ON VALUE INVESTING : Inspirations from all great value investors

ที่มา www.stock2morrow.com

โดย Little Bear on 16 มี.ค. 57 13:08

เมื่อ 2 เดือนก่อน ได้ซื้อหนังสือ "Big Data อภิมหาข้อมูล" เพิ่งอ่านไปได้หน่อยเดียว ไม่มีสมาธิ กังวลอยู่กับ Thesis หลังจาก Thesis เสร็จ คงได้กลับมาตั้งใจอ่านอีกที

เทรนด์นี้เกิดขึ้นแน่ในอนาคตอันใกล้นี้ (จริง ๆ ก็เกิดขึ้นแล้ว กับ Google ที่เริ่มเกิดข้อมูลมานับ 10 ปี จนมีข้อมูลเพียงพอที่จะประมวลออกมาด้วยหลักการของ Big Data)

นับเป็นยุคที่จะเกิดขึ้นหลังจาก Crowdsourcing ที่มวลชนร่วมกันผลิตข้อมูล จนข้อมูลมีปริมาณมหาศาลอย่างที่ไม่เคยมีใครคิดฝันถึง จนทำให้เกิดการพัฒนากรรมวิธีใหม่ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใหญ่โตมโหฬารนี้ แล้วก็เริ่มเห็นผลกันบ้างแล้ว

Palantir สตาร์ทอัพมาแรง ทำเว็บโดยเอา Big Data มาใช้ประโยชน์ ลองอ่านศึกษาดู

โดย Little Bear on 16 มี.ค. 57 10:37

แนวคิดของ Outsourcing คือ การลดงานที่ไม่จำเป็นในชีวิตประจำวันออกไป โดยมุ่งทำเฉพาะในสิ่งที่เราทำได้ดี และเอาสิ่งที่ทำได้ไม่ดีนักไปให้คนอื่นทำ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการใช้เวลาที่สูงขึ้น แนวคิดนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในช่วงปลายศตวรรษที่ 20

ทว่ายุคนี้ Crowdsourcing????

มีบทความเกี่ยวกับ Outsourcing ลองอ่านดู

โดย Little Bear on 16 มี.ค. 57 09:48

บัฟเฟตต์เป็นประธานผู้บริหารของบริษัท Berkshire Hathaway ซึ่งก่อตั้งขึ้น 170 ปีแล้วและเคยทำกิจการด้านสิ่งทอเป็นหลักก่อนที่บัฟเฟตต์และหุ้นส่วนจะซื้อกิจการมาดำเนินงานเมื่อปี 2508 บัฟเฟตต์ใช้บริษัทนั้นเป็นทางผ่านการลงทุนในบริษัทอื่นซึ่งทำกิจการหลากหลายอย่างรวมทั้งการประกันภัย หนังสือพิมพ์ ร้านอาหาร ธนาคารและร้านสรรพสินค้า เขาซื้อหลายบริษัทมาควบรวมและซื้อหุ้นของอีกหลายบริษัทเป็นบางส่วน ก่อนที่เศรษฐกิจโลกจะประสบปัญหาและราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เริ่มทรุด Berkshire Hathaway มีทรัพย์สินรวมกันเกือบ 300,000 ล้านดอลลาร์ บัฟเฟตต์ประสบความสำเร็จสูงกว่านักลงทุนทั่วไปอย่างต่อเนื่องจนทำให้ราคาหุ้นของ Berkshire Hathaway เพิ่มขึ้นจาก 4 ดอลลาร์ต่อหุ้นเป็น 75,000 ดอลลาร์ในเวลา 40 ปี

มีผู้พยายามค้นหาปัจจัยที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จสูงอย่างน่ามหัศจรรย์นั้น เมื่อหลายปีก่อนมีหนังสือเกี่ยวกับวอร์เรน บัฟเฟตต์ ชื่อ The Snowball: Warren Buffett and the Business of Life พิมพ์ออกมา แต่กว่าผู้อ่านจะค้นพบปัจจัยที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จก็ต้องอ่านกันนานเพราะหนังสือเล่มนั้นมีความหนาเกือบ 1,000 หน้า ก่อนหน้านั้นมีผู้นำเอาข้อคิดในจดหมายที่เขาเขียนถึงผู้ถือหุ้นในบริษัท Berkshire Hathaway มารวมเป็นหนังสือชื่อ The Essays of Warren Buffett: Lessons for Corporate America ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าหนังสือทั่วไปและยาว 290 หน้า จึงต้องใช้เวลานานกว่าจะอ่านจบ เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา Michael Brush สรุปแนวคิดของบัฟเฟตต์ออกมาเป็น 10 ข้อเผยแพร่ไปตามสื่อต่าง ๆ ขอนำมาเล่าสู่กันเพราะมันน่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ หรือมีเวลาไปเสาะหาหนังสือและต้นฉบับมาอ่านเอง

โดย Little Bear on 14 มี.ค. 57 08:14

http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=57852

โดย Little Bear on 13 มี.ค. 57 13:06

เปลือยชีวิตลงทุน พ่อหนุ่มนักเขียนเรื่อง Out of My Mind on Investment “ปราการ สมใจเพ็ง” จากทุน 5 หมื่นบาท ขึ้นแท่นเจ้าของพอร์ต “หลักสิบล้าน"

“ลองคุยกับนักลงทุนคนนี้ดูนะ เขาเป็นคนเขียนหนังสือเรื่อง Out of My Mind on Investment วิธีคิดของเขาน่าสนใจทีเดียว” “โจ-อนุรักษ์ บุญแสวง" นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) เจ้าของนามแฝง "โจ ลูกอีสาน" แนะนำให้ “กรุงเทพธุรกิจ Biz Week” ไปทำความรู้จัก “เปา-ปราการ สมใจเพ็ง” เจ้าของนามแฝง Out of My Mind ตามคำร้องขอ

ร้านกาแฟชื่อดังระดับโลก ย่านเรียบทางด่วน รามอินทรา คือ จุดนัดพบ “เปา-ปราการ” เดินเข้ามาในร้านพร้อมภรรยา มือข้างหนึ่งถือหนังสือเรื่อง Out of My Mind on Investment เล่ม 1 ติตตัวมากด้วย “คงไม่ได้นั่งคุยด้วย เปาคุยเก่งอยู่แล้ว ยิ่งคุยเรื่องการลงทุนคงยาว” หญิงคู่ใจ “เปา” เอ่ยปากเพื่อขอตัวไปธุระ

หนังสือเล่มนี้จะวางขายเฉพาะใน Facebook ชื่อ Out Of My Mind on Value Investment ยอดพิมพ์ครั้งแรก 1,000 เล่ม ราคาเล่มละ 200 บาท ตอนนี้น่าจะเหลือประมาณ 200 เล่ม ตั้งใจจะพิมพ์เล่ม 2 เร็วๆนี้ เนื้อหาจะเข้มข้นกว่าเล่มแรกมาก เล่มแรกออกแนวอ่านง่ายๆ เพราะหนังสือเล่มนี้ทำให้มีโอกาสได้คุยกับ “โจ ลูกอีสาน” ผ่านตัวหนังสือมากกว่าเจอตัวเป็นๆ

โดย Little Bear on 13 มี.ค. 57 09:23

ชื่อของน.พ.ยรรยง พันธุ์วงศ์กล่อม โด่งดังขึ้นมาในราวต้นปี 2545 หลังจากที่เขาเข้ากว้านซื้อหุ้น บล.ซีมิโก้ จำนวน 5.095 ล้านหุ้น จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10.87% และใช้เวลาเพียงวันเดียวขายหุ้นทั้งหมดออกจากพอร์ต

จากนั้นชื่อของ น.พ.ยรรยง ก็ถูกดึงเข้าไปพัวพันกับสร้างราคาหุ้นของหลายบริษัท กระทั่งมีข่าวอีกว่าหมอใช้ “นอมินี” เข้าซื้อหุ้น บล.ยูไนเต็ด ร่วมกับ นายสมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล หรือ “เสี่ยปู่” และเพื่อนร่วมก๊วนจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 14% ในโบรกเกอร์แห่งนี้

นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้คนในแวดวงตลาดหุ้นตั้งคำถามว่า ชายผู้นี้เป็นใคร?…มาจากไหน?

นักเลงหุ้นคนนี้มีความน่าสนใจมากกว่าการเป็นแค่ “นักเสี่ยงโชค”

โดย Little Bear on 5 มี.ค. 57 09:42

ASP Strategic Move ปรับหมากกลยุทธ์ 5 มีนาคม 2557

หลังจากที่มีการรายงานงบปี 2556 เสร็จสิ้นผลปรากฏว่าในปี 2556 ตลาดหุ้นไทยมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 777,293 ล้านบาท (กำไรสุทธิของต่อหุ้น หรือ EPS อยู่ที่ 90.05 บาท) เพิ่มขึ้นเพียง 5.8%yoy ต่ำกว่าที่คาดหมายเล็กน้อย เนื่องจากปี 2556 ทาง ASP ได้มีการปรับลดประมาณการกำไรตลาดไปแล้วถึง 3 ครั้ง (ไม่รวมที่ได้มีการปรับลดกำไร หุ้นที่อิงการเติบโตในประเทศ (Domestic Play) ในช่วงม.ค. ปี 2557 ที่ผ่านมา) โดยพบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีกำไร เติบโตมากกว่าตลาด นำโดยกลุ่มประกันภัย เพิ่มขึ้น 210%ตามมาด้วย ท่องเที่ยว/โรงแรม 174% อาหาร 89% วัสดุก่อสร้าง 40% อสังหาฯ 36%, เกษตร 23%, ธนาคารพาณิชย์ 24% สื่อสาร 16% และ ชิ้นส่วน 10% ตรงกันข้าม กลุ่มที่มีเติบโตน้อยกว่าตลาด ซึ่งส่วนใหญ่กำไรมีการหดตัวจากปี 2555 คือ ขนส่ง ลดลง 51% และการแพทย์ ลดลง 13% พลังงาน ลดลง 9% รถยนต์ ลดลง 8% และ ปิโตเคมี ลด 7%และ บันเทิง เพิ่มขึ้น 1% โดยรวมส่งผลให้ เติบโต 5.78% จากปี 2555

โดย Little Bear on 15 ก.พ. 57 23:33

xxxx.net ถูกโจมตี เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ. 57 แต่ยังไม่รู้ เพิ่งมารู้วันนี้เมื่อ web หยุดทำงานทั้งหมด เช็คดูปรากฏว่า harddisk เต็ม โดยไฟล์ที่ใหญ่ขึ้นคือ log ของโดเมน xxx.net อยู่ใน /var/log/httpd/domains/xxx.net.error.log เบ้อเริ่ม 3xxGB เนื่องจากมีการเข้าถึงไฟล์หนึ่งของ jumla คือ /home/xxxx/domains/xxxx.net/public_html/libraries/joomla/filesystem/folder.php แล้วเกิด warning จึงเกิด error log ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จน harddisk เต็ม

ตอนนี้ก็เลย suspen เว็บไว้ก่อน แล้วลบ log file ทิ้งไป

613 items|« First « Prev 17 18 (19/62) 20 21 Next » Last »|