ที่มา www.stock2morrow.com
"หุ้น 10 เด้ง" ของ...ปีเตอร์ ลินช์
โดย : ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
Bangkokbiznews.com
ในหนังสือ “30 วัน รวยด้วยรายได้ที่ไม่ต้องทำงาน” มีบทความหนึ่งที่ผมชอบมากก็คือ “หุ้น 10 เด้ง ของ ปีเตอร์ ลินช"
โดยลินช์เป็นผู้ที่บริหารกองทุนรวมที่ใหญ่ที่สุดกองหนึ่งของสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อว่า ไฟเดลลิตี้ แมกเจลลัน (Fidelity Magellan) ตั้งแต่ปี 2520 จากนั้นลินช์ก็ได้สร้างความฮือฮาให้เกิดขึ้นในวงการตลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกา ด้วยการทำให้ผลตอบแทนของกองทุนของเขาออกมาสูงถึง 28 เท่า ภายในระยะเวลา 13 ปี พูดง่ายๆ ก็คือ หากคุณผู้อ่านลงทุนกับนายลินช์ในปี 2520 เป็นเงิน 1 ล้านบาท พอถึงปี 2533 คุณผู้อ่านก็จะได้เงินสูงถึง 28 ล้านบาทโดยลินช์มีเทคนิคในการมองหา “หุ้นสิบเด้ง” ดังนี้ครับ
ชื่อบริษัทฟังแล้ว...น่าเบื่อหน่าย บริษัทที่มีชื่อว่า Crown, Cork and Seal ซึ่งมีความหมายถึง จุกขวด หรือการผนึกฝาต่างๆ เป็นชื่อที่ธรรมดาๆ และน่าเบื่อหน่าย แต่ลินช์จะมองว่า...เป็นข้อดี เพราะผู้คนมักจะไม่สนใจในสิ่งที่...น่าเบื่อหน่าย
ผลิตสินค้าที่...น่าเบื่อหน่าย - บริษัทที่ผลิตสินค้า...ที่น่าเบื่อหน่าย ก็จะสามารถกันคนที่ไม่เฉลียวฉลาดออกไปได้ แต่ลินช์จะชอบมากที่สุดถ้าค้นพบ...บริษัทที่มีชื่อน่าเบื่อหน่าย และยังจะผลิตสินค้าที่น่าเบื่อหน่ายออกมาอีกด้วย
เป็นหุ้นของบริษัทที่ทำอะไรให้คนไม่ชอบ - บริษัทที่คนมักจะไม่ชอบได้แก่ บริษัทที่ทำอะไรเกี่ยวกับความสกปรกหรือขยะ เป็นต้น แค่เริ่มต้นทำในสิ่งที่คนไม่ชอบ...คนที่จะสนใจก็น้อยลงไปแล้ว
เป็นหุ้นของบริษัทที่แตกตัวออกมา - การแตกบริษัทย่อยออกมาจากบริษัทใหญ่ที่มีชื่อเสียงแสดงว่า ผู้บริหารของบริษัทนั้นๆ จะต้องเห็นความสามารถและมีความมั่นใจในบริษัทลูก นอกจากนั้นชื่อเสียงของบริษัทแม่ยังช่วยให้บริษัทลูกมีโอกาสประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้นอีกด้วย
เป็นหุ้นที่สถาบันลงทุนไม่ชอบที่จะลงทุนด้วย - หากคุณผู้อ่านค้นพบหุ้นที่ดีตัวใดก็ตามที่สถาบันลงทุนถือไว้น้อยหรือไม่ได้ถือไว้เลย นั่นอาจแสดงว่า...โอกาสกำลังมาแล้ว เพราะคุณสามารถจะซื้อเก็บสะสมมันไว้ได้ก่อนที่...ยักษ์ใหญ่จะลงมาเล่น
เป็นหุ้นที่รู้สึกว่ามีปัญหาบางอย่าง...กำลังคุกคามอยู่ - ปัญหาทางสังคมหลายๆ อย่างก็เคยกระหน่ำไปยังบริษัทดีๆ หลายต่อหลายบริษัท หากปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาชุมชนประท้วง ปัญหามวลชนอื่นๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ “หุ้นดี...ราคาต่ำ”
เป็นบริษัทที่ประสบกับปัญหาขั้นร้ายแรง - ตัวอย่างที่อาจทำให้คุณผู้อ่านได้เห็นภาพง่ายๆ ขึ้นมาหน่อย เช่น การแพ้คดีความครั้งใหญ่ โรงงานระเบิด กระบวนการผลิตที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต สิ่งเหล่านี้มีผลกับราคาหุ้นแทบจะทันที
เป็นหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังจะแย่ - อุตสาหกรรมเหล็ก เป็นอุตสาหกรรมที่หลายคนคิดว่า เป็นอุตสาหกรรมประเภทดวงอาทิตย์ตก นั่นหมายถึงอุตสาหกรรมนี้มีอนาคตที่กำลังจะแย่ลง บริษัทเหล็กของอินเดียที่ชื่อว่า มิตทาลสตีล (Mittal Steel) เป็นบริษัทที่คอยกว้านซื้อบรรดาโรงงานเหล็กทั่วโลกในราคาถูก ทำให้ผลิตสินค้าได้ในต้นทุนที่ต่ำ จึงสามารถทำกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
เป็นบริษัทที่มีจุดเด่น - พอจะจำกันได้ไหมครับว่า บริษัทที่ผลิตยาไวอากร้า (Viagra) ยาที่ทำให้อวัยวะสืบพันธุ์ของผู้ชายแข็งตัว และทำยอดขายถล่มทลายไปทั่วโลกจากยาตัวนี้มีชื่อว่าอะไร? ใช่แล้วครับ...บริษัทไฟเซอร์ นั่นเอง ยาไวอากร้าได้ทำให้ราคาหุ้นของบริษัทนี้พุ่งกระฉูดสูงขึ้นไปหลายเด้งทีเดียว หลังจากนั้นมา ยาไวอากร้าเพียงตัวเดียวก็ถือเป็น “รายได้ที่ไม่ต้องทำงาน” ก้อนมหึมา...ของบริษัทไฟเซอร์ไปโดยปริยาย
ผู้คนต้องซื้อสินค้าของบริษัทนี้เรื่อยๆ - ลินช์จะชอบลงทุนในบริษัที่ทำใบมีดโกน น้ำอัดลม หรือบุหรี่ มากกว่าบริษัทที่ทำของเล่น เพราะผู้คนต้องซื้อมันเป็นประจำ และมีโอกาสน้อยมากที่จะเปลี่ยนแปลงไปใช้สินค้าอย่างอื่นแทน
เป็นบริษัทที่ชอบใช้เทคโนโลยี - ลินช์จะไม่ชอบลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีที่ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดในการแข่งขันทางด้านราคาที่ไม่สิ้นสุด แต่เขาจะเลือกบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีแทน เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ตใช้เครื่องคิดเงินที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นต้น
คนในบริษัทกำลังซื้อหุ้นของบริษัทตัวเองอยู่ - ไม่มีสัญญาณอะไรที่จะเด่นชัดไปกว่า คนในบริษัทพากันซื้อหุ้นของบริษัทที่ตนเองทำงานอยู่ สิ่งเหล่านี้บ่งบอกด้วยตัวมันเองอยู่แล้วว่า บริษัทของตนต้องมีผลประกอบการดีแน่ๆ
บริษัทกำลังซื้อหุ้นคืนอยู่ - การซื้อหุ้นของบริษัทตัวเองคืน เป็นสิ่งที่บริษัทจดทะเบียนในเมืองไทยก็เริ่มทำกันเป็นจำนวนมากแล้ว การซื้อหุ้นคืนก็เหมือนกับ...การที่คนในบริษัทกำลังซื้อหุ้นของบริษัทตัวเองอยู่ ซึ่งแสดงถึง บริษัทต้องมีอนาคตที่ดีแน่ และหุ้น...ก็ต้องมีอนาคตที่ดีตามไปด้วย
ตำนานของปีเตอร์ ลินช์ ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหา “หุ้น 10 เด้ง” หรือการทำให้กองทุนของเขาเติบโตขึ้นเป็น 28 เท่าภายในเวลาแค่ 13 ปี ยังเป็นตำนานที่คนรุ่นหลังยังประทับใจอยู่จนถึงปัจจุบัน เพียงแต่...จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังไม่มีใครที่จะสามารถ...ลงทุนได้ยิ่งใหญ่...ในเวลาอันรวดเร็วได้เหมือนกับ..ปีเตอร์ ลินช์
ที่มา ผ่าน รู้ทันหุ้น
เคยลองตามหาประวัติศาสตร์มาหลายรอบแล้ว ลองใช้งานดูบ้าง ก็ไม่ถูกใจ
อาจจะถึงเวลาต้องเขียนขึ้นมาใช้เอง จากบทความที่ www.siamhtml.com สรุปได้คร่าว ๆ ว่า
การเรียกใช้ จะเรียกผ่านทาง object ของ javascript ที่มีชื่อว่า window.history
History API มี method ให้ใช้คือ
- Back & Forward (Method) คือ window.history.back() และ window.history.forward()
- Go (Method) คือ window.history.go(steps)
- Length (Property) คือ window.history.length
- pushState (Method) เพิ่ม entry ใหม่
- replaceState (Method) ทับของปัจจุบัน
- state (Property) เรียกดู data ของ history ปัจจุบัน
- popstate (Event) เป็น event ที่จะ “ทำงาน” ทุกครั้งที่ users กดปุ่ม back หรือ forward หรือเมื่อมีการสั่งให้ method back(), forward() หรือ go() ทำงาน แค่ดึงออกมา แต่ไม่ได้โหลดหน้าเว็บ
ส่วนตัวอย่างดูได้จาก History API คืออะไร? + สอนวิธีใช้ หรือ Demo | Source
10 วิธีที่ฟรีแลนซ์ก็สามารถทำเพื่อให้ผู้ร่วมงานของเราไม่มีวันลืมได้เช่นกัน
- ทำให้ทุกครั้งที่เริ่มงานใหม่เป็นงานที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่าต่อสังคม
- มองงานให้เป็นสิ่งที่เรากำลังเข้าไปช่วยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- สร้างความสัมพันธ์กับผู้ใช้ให้เหมือนกับเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน
- ทำงานให้เสร็จก่อนกำหนดเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มใช้งานจริง
- อย่าปิดกั้นตนเอง มองงานของคนอื่นอย่างมีคุณค่าที่สามารถนำมาร่วมกับเรา
- คิด ทำ วางแผนล่วงหน้า 2-3 ขั้นเสมอ
- กล้าเอ่ยปากหาคนช่วย และเปิดรับการขอความช่วยเหลือจากคนอื่
- หาเวทีโชว์ผลงานบ้าง ไม่ควรปล่อยให้ตัวเองเงียบเกินไป
- ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานของเราเองสักโปรเจกท์
- เตือนตัวเองให้จำไว้เสมอว่า เราทำงานเพราะอะไร และงานที่ทำสร้างประโยชน์ต่อสังคมอย่างไร
ปล. ลอกต่มาจาก Trick of the Trade ดามที่แชร์มาด้านล่างนะครับ ไม่ได้คิดเอง
โจทย์ : ให้นำเข้าข้อมูลสู่ไฟล์ Microsoft Excel โดยดึงมาจากเว็บไซท์ แยกข้อมูลออกมาและนำแต่ละรายการไปใส่ไว้ใน row/col ต่าง ๆ
แนวทาง :
- เขียน VB Script เพื่อดึงข้อมูลจากหน้าเว็บ (มีฟังก์ชั่นอยู่แล้ว)
- วนลูปเพื่อเขียนข้อมูลแต่ละรายการ ลงไปใน cell ที่ต้องการ
ตัวอย่าง VB Script code
Dim IE As Object Sub Website() Dim Doc As Object, lastRow As Long, tblTR As Object Set IE = CreateObject("internetexplorer.application") IE.Visible = True navigate: IE.navigate "http://www.spk.gov.tr/apps/MutualFundsPortfolioValues/FundsInfosFP.aspx?ctype=E&submenuheader=0" Do While IE.readystate <> 4: DoEvents: Loop Set Doc = CreateObject("htmlfile") Set Doc = IE.document If Doc Is Nothing Then GoTo navigate Set txtDtBegin = Doc.getelementbyid("txtDateBegin") txtDtBegin.Value = Format(Sheet1.Range("B3").Value, "dd.MM.yyyy") Set txtDtEnd = Doc.getelementbyid("txtDateEnd") txtDtEnd.Value = Format(Sheet1.Range("B4").Value, "dd.MM.yyyy") lastRow = Sheet1.Range("B65000").End(xlUp).row If lastRow < 5 Then Exit Sub For i = 5 To lastRow Set company = Doc.getelementbyid("lstCompany") For x = 0 To company.Options.Length - 1 If company.Options(x).Text = Sheet1.Range("B" & i) Then company.selectedIndex = x Set btnCompanyAdd = Doc.getelementbyid("btnCompanyAdd") btnCompanyAdd.Click Set btnCompanyAdd = Nothing wait Exit For End If Next Next wait Set btnSubmit = Doc.getelementbyid("btnSubmit") btnSubmit.Click wait Set tbldgFunds = Doc.getelementbyid("dgFunds") Set tblTR = tbldgFunds.getelementsbytagname("tr") Dim row As Long, col As Long row = 1 col = 1 On Error Resume Next For Each r In tblTR If row = 1 Then For Each cell In r.getelementsbytagname("th") Sheet2.Cells(row, col) = cell.innerText col = col + 1 Next row = row + 1 col = 1 Else For Each cell In r.getelementsbytagname("td") Sheet2.Cells(row, col) = cell.innerText col = col + 1 Next row = row + 1 col = 1 End If Next IE.Quit Set IE = Nothing MsgBox "Done" End Sub Sub wait() Application.wait Now + TimeSerial(0, 0, 10) Do While IE.readystate <> 4: DoEvents: Loop End Sub
ปล. ไว้ค่อยลองแล้วได้ผลอย่างไร จะมาเขียนต่อนะครับ
ทำเว็บด้วยตนเอง ด้วยการ ลาก แล้วก็ วาง ลองดูตัวอย่างได้ที่ http://www.wix.com/htmlsites/-click-here
ที่สำคัญคือ ฟรี!
แต่ที่เอามาเก็บไว้ที่นี่ เพราะไอเดียเรื่อง 3 มิติของภาพ ที่ทำให้มองเห็นวัตถุแต่ละชิ้นเป็นชั้น ๆ สำหรับการวางแผนในการออกแบบ
Mobile country code Thailand
- 520 00 my" CAT 3G 850 CAT Telecom
- 520 01 AIS GSM 900 Advanced Info Service
- 520 02 CAT CDMA 800 CAT Telecom
- 520 03 AIS 3G 2100 AWN
- 520 04 True Move H 4G LTE Real Future
- 520 05 dtac 3G 2100 DTN
- 520 15 TOT 3G 2100 Telephone Organization of Thailand (TOT)
- 520 18 Dtac GSM 1800 Total Access Communication
- 520 23 AIS GSM 1800 DPC
- 520 99 True Move GSM 1800 True Corporation
- 520 25 WE PCT PHS 1900 True Corporation
เจอปัญหา The system load มาประมาณ 1 อาทิตย์แล้ว ยังไม่แน่ใจในสาเหตุ
อาจจะเป็นว่ามีบางเว็บส่งเมล์ เท่าที่ลองเช็คดูพบว่า border9025.com ส่งเมล์ออกเยอะพอสมควร จึงได้ยกเลิกการส่งเมล์ไปก่อน
ด้วยการ ยกเลิการกำหนด MX Record ที่ Use this server to handle my emails. If not, change the MX record and uncheck this option ไปก่อน
แล้วคอยดูสถานการณ์
Rakesh Jhunjhunwala ถูกขนานนามว่าเป็น Warren Buffet ของประเทศ India จากเงินลงทุนในคร้งแรกเพียง 100 เหรียญ เมื่อปี 1985 ผ่านไป 30 ปี ตอนนี้ เขามีทรัพย์สินมากกว่า 1000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในนิตยสาร Forbes ปี 2010 เขาติดอันดับคนที่รวยที่สุดในอินเดีย อันดับ 51 และ อันดับโลกที่ 1062 และนี่คือกฎการลงทุนของ Rakesh
Tip No. 1: Don’t Look For Multi-baggers
เขียนไม่ผิดครับ เทคนิคแรกสำหรับการมองหาหุ้นสิบเด้ง ก็คือ "อย่ามองหาหุ้นสิบเด้ง" Rakesh บอกว่า อย่ายึดติดว่าเราจะต้องซื้อหุ้น 2 เด้ง 3 เด้งหรือ 10 เด้งเท่านั้น เราเพียงแค่ต้องทำการบ้าน โดยการหาหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และมีการเติบโตในอนาคต พอร์ตของคุณก็จะเติบโตหลายเด้งเองเมื่อเวลาผ่านไป
Tip No. 2: Don’t Look for Profits; Look For Sources Of Profits
"อย่ามองที่กำไร จงมองหาแหล่งที่มาของกำไร" Rakesh ให้ข้อคิดที่ว่านักลงทุนทั่วไป มักจะยึดติดเกินไปกับยอดขายและกำไรรายไตรมาสและ Focus กำไรในระยะสั้นๆ ซึ่งนั่นอาจทำให้เราหลุดจากการมองภาพใหญ่ได้ Rakesh แนะนำว่าให้ใส่ใจแหล่งที่มาของกำไร ปัจจัยอะไรที่จะทำให้กำไรของบริษัทสามารถเติบโตได้ในระยะยาว
Tip No. 3: Forget ‘Large Cap, Small Cap’ Nonsense – Look For Scalability Of Operations:
เลิกสนใจว่าเป็นหุ้นใหญ่ หรือหุ้นเล็กซะ มันไร้สาระมาก! จงมองหาสิ่งที่มันเติบโตได้ต่างหาก
Tip No. 4: Give it Time, Be Patient:
จงอดทนและให้เวลามันได้เติบโต
Tip No. 5: Don’t get carried away by short-term aberrations:
อย่าใส่ใจมากนักกับการเบี่ยงเบนในระยะสั้น นักลงทุนทั่วไปมักสนใจแนวโน้มระยะสั้น เช่นผลประกอบการรายไตรมาส แต่ Rakesh มักไม่ให้ความสนใจ มากนักกับผลประกอบการรายไตรมาส ส่งที่เขาจะทำคือ การมองหาแนวโน้มผลประกอบการในระยะยาว
Tip No. 6: Invest in a business that you can understand:
จงลงทุนในธุรกิจที่คุณเข้าใจ
Tip No. 7: Don’t worry about the macro stuff like fiscal deficit, inflation etc which are unknowable. Focus on what is knowable:
อย่ากังวลกับปัจจัยมหภาคมากนัก เช่น การขาดดุลการคลัง เงินเฟ้อ อื่นๆที่ไม่สามารถรู้ได้ จงสนใจกับสิ่งทีสามารถรู้ได้ Rakesh แนะนำว่า อย่าสนใจกับสิ่งที่ไม่สามารถรู้ได้ หรือถึงจะรู้ ก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่ดี แต่จงมุ่งมั่นทุ่มเทพลังงานของคุณทั้งหมดไปกับสิ่งที่คุณสามารถเรียนรู้ได้ดีเพียงพอ เช่น ธุรกิจของบริษัทที่คุณลงทุน
Tip No. 8 : Don’t Try To Time The Market:
อย่าจับจังหวะตลาด เพราะคุณจะไม่สามารถหาจุดต่ำสุดของตลาดได้ ถ้าคุณหาหุ้นที่ถูกเมื่อเทียบกับมูลค่าแท้จริง จงซื้อมันซะ!
Tip No. 9 : If it’s cheap, buy it- Don’t pass up something cheap today in the hope that it will get cheaper tomorrow:
ถ้ามันถูกก็ซื้อมันซะ อย่าปล่อยให้ ความคิดที่ว่า ราคาพรุ่งนี้อาจถูกกว่าวันนี้ ทำให้คุณพลาดโอกาสดีๆไป ถ้าคุณเห็นโอกาสในวันนี้ จงคว้ามันไว้ซะ! โอกาสดีเยี่ยมหลายครั้งหลุดลอยไปเพียงเพราะการผลัดวันประกันพรุ่ง
Tip No. 10 : Don’t buy stocks that have a fixed return:
อย่าซื้อหุ้นที่มีรายได้คงที่ คำแนะนำอันนี้ ตอนแรกดูเหมือนเรื่องตลก แต่พบว่า นักลงทุนส่วนใหญ่กับมองข้ามข้อแนะนำนี้ Rakesh ยกตัวอย่างหุ้นจำพวกนี้ ได้แก่ หุ้นไฟฟ้าหรือสาธารณูปโภค ที่ไม่สามารถที่จะมีกำไรมากกว่าที่กฏหมายกำหนดไว้เท่านั้น
Tip No. 11: Ride your winners!!
ปล่อยให้หุ้นวิ่งทำกำไร Rakesh แนะนำว่า อย่าขายหุ้นสิบเด้งของคุณทิ้งไปเพียงเพราะคุณคิดว่าหุ้นสิบเด้งของวันนี้จะไม่สามารถเป็นหุ้นยี่สิบเด้งได้ในวันพรุ่งนี้
Tip No. 12: Concentrate, concentrate & concentrate!!
เน้น เน้น และเน้นเท่านั้น Rakesh แนะนำให้ลงทุนในสิ่งที่เรามั่นใจเท่านั้น เค้าไม่สนใจการกระจายความเสี่ยงในหุ้นหลายตัวเพียงเพราะต้องการปกป้องพอร์ต
หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อนักลงทุนมือใหม่ไม่มากก็น้อย ^^
เครดิต kotaro thaivi
หุ้นเด่นจ่ายปันผล 5 ปีติดต่อกัน (51-55) ผลตอบแทนเกิน 5% กำไรโตติด 3 ปีซ้อน
ที่มา www.moneychannel.co.th