Crowdsourcing 2 : วิกิพีเดีย
ลาร์รีย์ แซงเกอร์ อดีตศาสตราจารย์ด้านปรัชญา มีความคิดที่สร้างสารานุกรมรูปแบบใหม่ และได้มาเจอกับนักลงทุน จิมมี่ เวลส์ ทั้งสองมีแนวคิดตรงกันในทำสารานุกรม ซึ่งเรียกว่า นูพีเดีย (Nupedia) โดยนูพีเดียจะรวบรวมสาระความรู้จากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ แต่สิ่งที่แตกต่างไปจากสารานุกรมแบบดั้งเดิมคือ เป็นสารานุกรมที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากอินเตอร์เน็ต ไม่เสียค่าใช้จ่าย และเป็นสารานุกรมที่เขียนโดยอาสาสมัคร โครงการเริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 2000มีการทาบทามผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ให้มาช่วยกันเขียนบทความ เพื่อให้งานมีความน่าเชื่อถือจึงมีการคิดค้นวิธีกลั่นกรองงานของผู้เขียนหลายขั้นตอน งานทุกชิ้นที่ส่งเข้ามาจะถูกตรวจพิจารณาที่ยากและยาวนานเจ็ดขั้นตอน กว่าจะได้รับการเผยแพร่ ในระยะแรกมีบทความเพียง 2-3 ชิ้นที่ผ่านกระบวนการตรวจพิจารณาและเผยแพร่บนเว็บไซต์ ผ่านไปอีกหลายเดือนก็มีบทความเพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง เวลล์และแซงเกอร์คาดหวังว่าในหลายเดือนถัดมาจะมีบทความเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่เหตุการณ์นั้นก็ไม่เกิดขึ้น ก่อนที่แซงเกอร์จะพบปะกับเบน โควิทซ์ วิศวกรสื่อสารสนเทศ นูพีเดียมีบทความที่นำเสนอเพียง 10 กว่าบทความเท่านั้น เบนได้แนะนำให้แซงเกอร์ได้รู้จักกับ วอร์ด คันนิงแฮม โปรแกรมเมอร์ที่ได้เขียนโปรแกรมชื่อ วิกิวิกิเว็บ (WikiWkikWeb) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่าย ๆ และโปรแกรมนี้ยังสามารถนำไปใช้กับงานอื่น ๆ ได้อย่างกว้างขวางอีกด้วย เป็นโปรแกรมที่อนุญาตให้ผู้ใช้ไม่จำกัดจำนวนสามารถเข้าไปสร้างและแก้ไขข้อความในแต่ละหน้าของเว็บเพจได้อย่างสะดวก มีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ไขไว้ทุกครั้ง ทำให้ทุกคนสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลและใครเป็นผู้เปลี่ยนแปลง ซึ่งวิธีการนี้สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยร่นกระบวนการต่าง ๆ ในการเขียน แก้ไข และตรวจพิจารณาบทความให้เร็วขึ้น
ปี ค.ศ. 2001 แซงเกอร์ ได้นำวิกิเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนูพีเดีย โดยเป็นช่องทางให้ทุกคนเข้ามาเพิ่มเติมเนื้อหาต่าง ๆ ก่อนป้อนเข้าสู่กระบวนการของนูพีเดีย ภายใน 3 สัปดาห์ มีผู้เขียนจากที่ต่าง ๆ ได้สร้างสรรค์บทความ 17 บทความ และเพิ่มขึ้นเป็น 150 บทความในอีก 1 เดือนถัดมา และเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าในเดือนต่อมา จนสิ้นเดือนสิงหาคม 2001 ก็มีบทความถึง 3,700 บทความ นับเป็นอัตราการเติบโตที่เร็วที่สุดตั้งแต่สร้างนูพีเดีย พร้อมกับจำนวนผู้เขียนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน เมื่อสิ้นปี ค.ศ. 2001 วิกิพีเดียก็มีบทความ 15,000 ชิ้น และยังคงเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเติบโตแบบคงที่ (เจฟฟ์ ฮาวี, 2008:76-81) จากสถิติที่แสดงในหน้าเว็บไซท์ของ wikipedia.com ปัจจุบันวิกิพีเดียมีบทความภาษาอังกฤษ 3.9 ล้านชิ้น รวมทุกภาษามีถึง 27.2 ล้านชิ้น และผู้เขียน 16.7 ล้านคน (WikiPedia, 2012-1) ซึ่งมากกว่าสารานุกรมบริแทนนิกาออนไลน์ซึ่งมีบทความอยู่เพียง 120,000 ชิ้นเท่านั้น (WikiPedia, 2012-2)
Crowdsourcing 1 : ปฐมบทของการถ่ายโอนงานให้มวลชน
(กำลังเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์เรื่อง "การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพด้วยกระบวนการคราวด์ซอร์สซิง" เลยขอใช้พื้นที่นี้เป็นการบันทึกความคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคราวด์ซอร์สซิงเอาไว้)
เจฟฟ์ ฮาวี ได้ให้คำนิยามคำว่า คราวด์ซอร์สซิง หรือ การถ่ายโอนงานให้มวลชน เอาไว้ว่า :
“Simply defined, crowdsourcing represents the act of a company or institution taking a function once performed by employees and outsourcing it to an undefined (and generally large) network of people in the form of an open call. This can take the form of peer-production (when the job is performed collaboratively), but is also often undertaken by sole individuals. The crucial prerequisite is the use of the open call format and the large network of potential laborers.” (Howe,2006)
จากที่ได้ประมวลมาคร่าว ๆ ได้ความว่า คราวด์ซอร์สซิ่ง นั้นเป็นการร่วมสร้างสรรค์ของกลุ่มคน(Crowd) เพื่อร่วมกันทำหรือสร้างสิ่งต่างๆ รวมถึงแก้ไขปัญหาร่วมกันเป็นกระบวน ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาขับเคลื่อนวงจรสมรรถนะส่วนเกินของบุคคล เช่นเวลาหรือพลังงานที่เหลือจากการทุ่มเททำงานให้นายจ้างและครอบครัว มาร่วมกันปฏิบัติการตามความปรารถนาของตนเองโดยมีผู้อื่นร่วมอยู่ในเส้นทางเดียวกัน โดยมีอินเตอร์เน็ทเป็นช่องทางในการสื่อสารและแลกเปลี่ยน จนส่งผลให้เกิดการสร้างสรรค์สารสนเทศซึ่งเป็นผลผลิตอันทรงคุณค่าของเศรษฐกิจยุคข้อมูลข่าวสารขึ้นมามากมาย โดยใช้หลักการของปัญญารวมหมู่(Crowd Wisdom) และ การถ่ายโอนเงินทุน(Crowd funding) ที่มีหลักปรัชญาคือคนกลุ่มใหญ่ย่อมมีความรู้มากกว่าคนคนเดียว เคล็ดลับอยู่ที่การสร้างเงื่อนไขหรือแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนให้มวลชนแสดงความรู้ที่ตนมีออกมาสู่สาธารณะ
ทุกครั้งที่เผลอเอานิ้วไปแตะที่ปุ่ม multimedia touch key (ที่เป็นไฟอยู่ด้านบนของ keyboard) แล้วทำให้ keyboard ค้าง ไม่สามารถพิมพ์ได้ (แต่ mouse ยังคงทำงานได้) ต้องปิดเครื่องเปิดใหม่ทุกครั้ง
ตอนนี้ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องปิดเครื่องอีกแล้ว แค่เพียง กด Ctrl Alt F1 แล้วกด Ctrl Alt F7 อีกครั้ง หรือ ปิดผา ให้เครื่อง suspen แล้วเปิดฝาอีกที ก็ใช้งานได้แล้ว
ตามที่ codeinspot.com ให้มา
Lenovo z470 multimedia touch key sensitivity problems When i press any multimidia key from touch-sensitivity from my laptop lenovo z470, the indicator of my ubuntu 11.10 dont work any more. I found palliative solution, pressing Ctrl Alt F1 and returning to the grphical interface with Ctrl Alt F7 or suspending closing the notebook and returning from suspending. I search in logs, and try monitoring key code with xev, wihtout sucess. Thanl you for any help.
ที่มา codeinspot.com
ครูประทีป สุขโสภา ครูขับเสภา บอกว่า "ร้องให้สุดคำ รำให้สุดแขน" จะทำงานศิลปะ ให้ทำด้วยความตั้งใจ และทำอย่างสุดฝีมือทุก ๆ ครั้ง แล้วผลลัพท์จะออกมาดี
Transfer a domain from one user to another
ใช้ script นี้
cd /usr/local/directadmin/scripts ./move_domain.sh domain.com olduser newuser
แต่ว่า หลังจากย้ายแล้ว ฐานข้อมูลจะยังคงเป็นชื่อเดิม ยูสเซอร์เดิม ก็จะต้องทำการย้ายฐานข้อมูลเองนะครับ
ครั้งแรกที่เปิดดูเว็บ Pinterest.com รู้สึกทึ่งกับรูปแบบของกล่องที่ไหลลงไปเรื่อย ๆ
เฮ้ย เจ๋งว่ะ มันทำได้ยังไงวะ!!!!!!!
ก็เก็บความสงสัยไว้นาน มาวันนี้ อยากทำอย่างนั้นบ้าง ก็เลยค้นหาดู
เจอที่นี่ The Famous Pinterest Dynamic Grid Layout and Design Inspirations
และที่ลองเอามาใช้งานคือ Masonry ทำแล้วดูดีขึ้นมาเชียว อาจจะเอาไปใส่ในเว็บของตัวเองบ้าง
ปล. ตอนนี้กำลังเขียน iMed@home ขึ้นมาใหม่ ให้เป็นไปในรูปแบบ crowdsourcing social network ให้ทุกคนมาช่วยกันทำข้อมูลด้านสุขภาพและการดูแลผู้ป่วย ยากหน่อย แต่ก็ท้าทายดี