วันนี้ได้ลองหวนกลับมาใช้งาน hotmail ก็เลยถือโอกาสทดสอบการใช้งานภาษาไทย บน Microsoft Word Web App ว่าการใช้งานเป็นอย่างไรบ้าง สามารถตัดคำได้หรือไม่ และจะใช้งานได้ดีกว่า Google Drive ซึ่งมีโปรแกรม Google Docs ที่จับลูกค้าในกลุ่มเดียวกัน
ดูจากการออกแบบหน้าเว็บแล้ว มีความรู้สึกที่ไม่แปลกแยกไปจาก Microsoft Word ซึ่งทำให้คนที่เริ่มใช้งานในครั้งแรกมีความรู้สึกเคยชิน หากแต่ลองสำรวจเมนูลึกลงไปจะพบว่ายังคงมีเฉพาะความสามารถพื้นฐานของ wordprocessor เท่านั้น แม่ว่าจะยังไม่สามารถปรับแต่งอะไรได้มากมายนัก แต่ก็สามารถนำไปใช้งานทั่วไปได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเรื่องของการตัดคำภาษาไทยที่ Microsoft Word Web App สามารถทำได้ในระดับที่ดีทีเดียว
สิ่งที่ยังไม่ได้ลองและเป็นสิ่งที่สำคัญในการทำงานยุคออนไลน์ในปัจจุบัน คือ การแบ่งปันเอกสารและการร่วมกันแก้ไขเอกสารพร้อม ๆ กันหลาย ๆ คน ที่คู่แข่งอย่าง Google Docs สามารถทำได้อย่างแทบจะไม่มีที่ติทีเดียว
ปล. ข้อความข้างบนนี้ พิมพ์บน Microsoft Word Web App แล้ว copy มาวาง

วันนี้ยก Notebook Toshiba เครื่องที่ตั้งกองไว้ที่พื้นมาหลายเดือนแล้วมาตั้งบนโต๊ะทำงาน (หลังจากซื้อ Lenovo เครื่องใหม่มาแทนเมื่อต้นปี 2555 - ของขวัญปีใหม่ให้ตนเอง) ยกมาตั้งปุ๊บก็เสียบ mouse เครื่องตั้งอยู่ห่างออกไปเกินมือเอื้อมถึง ลากสาย mouse มาไว้ใกล้ ๆ ตัว เปิดเครื่องเริ่มทำการ update Ubuntu ให้เป็น version ล่าสุด (13.04) ต้องโยกตัวไปหาเครื่องทุกครั้งที่ต้องพิมพ์บน keyboard (เริ่มเข็ดเอวแล้วสิเรา)
ปิ๊งขึ้นมาว่า "แล้วทำไมตรูจึงไม่ทำให้ใช้ keyboard/mouse อันที่ใช้งานกับเครื่องหลัก ให้มันใช้กับเครื่องนั้นด้วยฟะ"
คิดได้ดังนั้นแล้ว ก็เลย [google](ubuntu join many computer into one) เจอนี่เลย 5 ways to make using multiple computers and devices more efficient with Ubuntu สุดยอด ตรงกับที่ต้องการเลย
ในบทความมีวิธีการแบ่งกันใช้อยู่ 5 แบบ แต่ที่ต้องการคือ "Sharing mice and keyboards" วิธีการง่ายนิดเดียว
บน Ubuntu มีโปรแกรมชื่อ "Synergy" ที่สามารถทำงานนี้ได้เลย โปรแกรมมีให้เลือกใช้อยู่ 2 ตัว คือ
- Synergy : ตัวนี้ GUI จะใช้ยากหน่อย ต้องหลายคลิกกว่าจะเลือกเรียบร้อย
- QuickSynergy : ตัวนี้ GUI ใช้ง่ายมาก ๆ
วิธีการใช้ QuickSunergy
หลังจากติดตั้งเสร็จ เปิดโปรแกรมมาจะเห็นหน้าตาตามนี้
หากเป็นเครื่องหลัก (มี mouse/keyboard เสียบอยู่) เราเรียกว่าเป็นเครื่อง server ให้คลิกที่ tab Share เลือกคลิกที่ตำแหน่งเครื่องด้านไหนก็ได้ (ซ้าย-ขวา-บน-ล่าง) แล้วตั้งชื่อเครื่องปลายทางไว้ แล้วคลิก Execute ได้เลย
ส่วนเครื่องที่เหลือ (ไม่มี mouse/keyboard) เราเรียกว่า client ให้เลือกคลิกที่ tab Use แล้วป้อน IP ของเครื่อง server (Server hostname/IP address) และ ชื่อเครื่องตนเอง (Screen name) แล้วคลิก Execute
แค่นี้แหละ ก็เลื่อน mouse ไปอีกเครื่องได้เลย

ปีนี้ได้มีโอกาสไปเป็นกรรมการ Photo voice ให้กับสาธารณสุขจังหวัดสงขลาอีกครั้ง ครั้งนี้จัดประกวดกันในงาน "Songkhla Health Fair 2013" เมื่อ 6 มิถุนายน 2556 ทีศูนย์ประชุม ม.อ. ในการประกวดได้แบ่งภาพถ่ายออกเป็น 2 ชุด คือ รพช. และ รพ.สต.
กรรมการที่ไปร่วมตัดสิน มีทั้งหมด 3 ท่าน (รวมผมด้วย) ทั้ง 2 ท่านล้วนแต่เป็นผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญและผ่านประสบการณ์ในการถ่ายภาพมาเป็นอย่างดี ทำให้เรารู้สึกเกร็ง ๆ อยู่พอสมควร แต่โดยรวมแล้วก็คุยกัน มีข้อเสนอแนะ และตัดสินออกมาได้ด้วยดี
ภาพที่ได้รางวัลที่ 1 ของ รพช. ชื่อภาพว่า "สะท้อนสุข" ภาพนี้เป็นการสื่อความหมายที่สะท้อนความสุขของตัวละคน (คนแก่) ผ่านตัวแทน (พระ) เป็นการตั้งชื่อและอธิบายความหมายผ่านข้อจำกัดทางเทคนิคที่ไม่สามารถถ่ายภาพตัวละคร มีข้อติที่ทุกคนเห็นพ้องกันคือฉากหลังที่ชัดเกิน หากถ่ายให้เบลอ ก็จะทำให้สมบูรณ์ทีเดียว
ภาพที่ได้รางวัลที่ 1 ของ รพ.สต. ชื่อภาพว่า "รัก....หรือทำร้าย" ส่วนที่นำจะทำได้ดีกว่านี้คือการสื่ออารมณ์ของยาย หากถ่ายให้เห็นสีหน้าหรือแววดาบางส่วน ก็จะแสดงให้เห็นความรักและความขัดแย้งในภาพได้ชัดเจนขึ้น
แนวโน้มของ internet โดย John Doerr แกนนำชื่อดังคนหนึ่งของ KPBC
KPCB Internet Trends 2013 from Kleiner Perkins Caufield & Byers
Source: KPCB
ที่มา isriya.com
ขอบ่นหน่อยเหอะ
ช่วงนี้ดับบ่อยมาก เมื่อวานก็ดับ
ก็เข้าใจนะ ว่ากำลังปรับปรุงระบบสายส่งของหมู่บ้าน

จริง ๆ ก็ไม่ได้ว่างหรอก แต่นั่งหา theme สำหรับใช้กับ icarsmile.com แต่ก็ยังไม่เจอที่ถูกใจ ก็เลยปรับ theme ให้กับเว็บไซท์ของตัวเองไปก่อน
ไม่รู้ว่าลอกเลียนแบบเขา จะผิดลิขสิทธิ์หรือเปล่า?
เอาเป็นว่า หาก OK เดี๋ยวจะไปซื้อนะจ๊ะ...

เมื่อคืนที่ผ่านมา (เกือบ 1 ทุ่ม 21 พ.ค. 56) ไฟฟ้าดับทั้งภาคใต้ พี่สาวโทรมาถามว่าที่บ้านไฟดับหรือเปล่า และบอกว่าไฟดับทังสงขลา เลยเข้าไปค้นหาข้อมูลในเน็ต (โชคดีที่มี 3G สำรอง) มีคนตังกระทู้ที่พันทพย์ (ไม่ถึง 10 นาทีที่ไฟเริ่มดับ).จึงได้รับรู้เพิ่มเติมว่าไฟน่าจะดับเกือบทุกจังหวัดของภาคใต้
อาจจะเป็นว่า
- อยู่บ้าน
- เฉย ๆ เมื่อไฟดับ
- เข้าเน็ตเช็คข้อมูลได้ว่าดับกันไปทั่ว
- ไม่มีธุระอะไรที่จะต้องออกไปทำ
- ไม่มีเพื่อนบ้านที่บ้านอยู่ติด ๆ กัน
- ไม่มีงานสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องจัดการในระหว่างไฟดับ
จึงเพียงแค่ จุดเทียน กินข้าว ออกมานั่งดูดาว และก็อ่านหนังสือ
มีข่าวออกมาายกระแสเรื่องสาเหตุของไฟดับครั้งนี้ บ้างก็ว่าสถานีไฟฟ้าย่อยที่ลำภูราขัดข้อง (พอเป็นไปได้ เคยเข้าไปเยี่ยมชมสถานีนี้ตอนสมัยเรียน นานมาแล้ว) อีกกระแสว่าโรงไฟฟ้าที่จะนะระเบิด (อันนี้มีภาพให้ดูด้วย 555) แต่ที่ดูน่าเป็นไปได้มากที่สุดน่าจะเป็นสายส่งแรงสูง 500KV ที่ประจวบมีปัญหา (ผู้ว่าการไฟฟ้าออกมาบอกเอง)
ตอนเช้ามาอ่านข่าวเพิ่มเติม พอสรุปได้ว่า สายส่งแรงสูง 500KV จากโรงไฟฟ้าที่ราชบุรีขัดข้อง ทำให้ไฟ้หายไปประมาณ 500MW จากการใช้ไฟของภาคใต้ทั้งหมด 2500 MW (หายไป 20% ???) ทำให้โรงไฟฟ้าที่เหลือรับโหลดไม่ไหว เลยทะยอยปิดตัวเอง (คงกลัวระบบพัง เรียกว่าปลอดภัยเอาไว้ก่อน 555) ทำให้ไม่มีใครจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบแม้แต่โรงเดียว? (พระเจ้า เกิดอะไรขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไรเนี่ย?)
ผู้ว่าการไฟฟ้าออกมาให้ข่าวว่า อย่างนี้ต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเพื่อป้องกันความเสี่ยง (555 คิดออกแค่ทางเดียวเองหรือครับท่าน?)
หากระบบการจัดการไฟฟ้ามีปัญหาในการทำงานขณะวิกฤต เช่นไฟฟ้าขาดหายไปจากระบบเป็นจำนวนมาก ระบบหรือครับ?)ควรฉลาดกว่านี้ที่จะจัดการกับปัญหาไม่ให้เกิความเสียหายทั้งหมด สถานีควบคุมไฟฟ้าย่อยน่าจะสามารถจัดการกับโหลดและตัดโหลดบางส่วนออกไป (คงต้องมีแผนสำรอง มีไหม?)
Android Studio ซึ่งเป็น IDE สำหรับพัฒนาแอพบนแอนดรอยด์ เพิ่งออกมาใหม่ได้ไม่กี่วันเอง ดาวน์โหลดมาลงแล้ว แต่ยังเล่นไม่เป็น (แถมยังเขียนโปรแกรมไม่ได้ ไปไม่ถูก)
มีวีดิโอแนะนำเกี่ยวกับ Android Studio ดูจบแล้ว ขอเก็บมาไว้เผื่อดูอีกรอบ
UPDATE swap_test SET x=(@temp:=x), x = y, y = @temp;