วิถีธรรม

by หมี่เป็ด ผู้ชายนัยน์ตาสนิมเหล็ก @24 ส.ค.53 16.15 ( IP : 118...30 ) | Tags : เบิกหอกวี

วิถีธรรม

คือทุกวิธีวิถีทาง

เพื่อสร้างสันติสุขในทุกที่

สุขใดไหนเล่าสุขเท่านี้

สุขที่สงบสุขทั่วทุกคน

เดินไปสู่จัดหมายที่ปลายทาง

เดินย่างก้าวรุกไปทุกหน

จงกรมภาวนาพึมพำมนต์

สติสงบร่นระยะทาง

นี่คือการป่าวร้อง-

อหิงสาต้องสรรค์สร้าง

ย่างก้าวแห่งธรรมจะย่ำวาง

แผ่วเบาก้าวย่างทุกทางไป

ยินดีต้อนรับผู้จาริก

ธรรมิกชน - เหนื่อยไหม ?

พรุ่งนี้ยังต้องย่างเดินทางไกล

ด้วยหัวใจสันติวิถีธรรม

เดินเท้าบอกโลกให้เข้าใจ

สันติมิอาจได้ด้วยสงคราม !


5 โมงเย็นนี้ คณะ อ.โคมทม อารียา กับ อ.ประมวล เพ็งจันทร์ เดินเท้ามาถึงหาดใหญ่

เพื่อเรียกร้องสันติสุขที่ชายแดนใต้ให้กลับคืนมา

Relate topics

Comment #1
Posted @24 ส.ค.53 17.50 ip : 117...113

เห็นในทีวีช่องไทยพีบีเอส คณะผู้เดินทางยังสดชื่นเสมอและผู้คนในท้องถิ่นก็น่ารัก^^

Comment #2
Posted @24 ส.ค.53 18.12 ip : 69...88

เดินไปสู่จัดหมายที่ปลายทาง ....จุดหมายหรือนัดหมายขะรับพี่หมี่ ...

สันติมิอาจได้ด้วยสงคราม ! ...แปลกๆ อ่ะครับพี่หมี่ ขอคำแนะนำสักนิ๊ดได้ป่ะครับ เกี่ยวกับหลักการสลับคำ เผื่ออนาคตอยากจะลองเขียนแนวนี้บ้างน่ะครับ ...

ด้วยความเคารพครับ :d

Comment #3
Posted @24 ส.ค.53 18.24 ip : 111...33

ตกลง..จัดหมายหรือนัดหมายขะรับพี่ทราย :d

Comment #4
Posted @24 ส.ค.53 20.53 ip : 113...8

จุดหมายครับ พิมพ์ผิดไปแระ 5555 ความที่รีบเกินไป

คนฟังร่วมคุยก็มีพอควร เป็นเวทีเล็กๆ มีรองนายกเทศมนตรีหาดใหญ่ หมอรุ่งโรจน์มาร่วมคุยด้วย แกเป็นหมอที่น่ารักมากครับ ก่อนเล่นการเมือง แกรักษาคนไข้ในคลีนิกแกรู้สึกจะรายละไม่เกิน 20 บาท รึไงนี่แหละ พอเป็นรองนายกฯ ก็สนับสนุนกิจกรรมเต็มที่ เคยกล่าวกับผมว่าหากมีกิจกรรมดีๆ ก็ใช้ห้องประชุมที่หน้าหอนาฬิกาได้เลย แต่ยังไม่มีกิจกรรมดีๆน่ะครับ  :d


สันติมิอาจได้ด้วยสงคราม แปลกตรงไหนหรือ? อันนี้งงจรงๆว่าแปลกตรงไหนครับ

จริงๆตอนแรกใช้ว่า-

บอกโลกเดินเท้าให้เข้าใจ

สันติมิอาจได้ด้วยสงคราม !

บอกโลกเดินเท้าให้เข้าใจ ผมใช้ยังงี้ครับ โดยตอนเขียนแบ่งความหมายเป็น 3 ท่อน บอกโลก 1 ล่ะ เดินเท้า 1 ล่ะ ให้เข้าใจ อีก1

แน่นอนครับ ถ้าตอบในวิชาภาษาไทยก็สอบตกที่ใช้รูปประโยคนี้  แต่สำหรับกวีนั้นมันใช้ได้ครับ เพียงแต่ไม่สวยสำหรับผม ก็เลยเปลี่ยนอย่างที่เห็นนะแหละ

Comment #5
Posted @25 ส.ค.53 0.24 ip : 69...88

บาทจบที่พี่เขียน อ่านแล้วได้ใจความ จบกระชากอารมณ์ได้อย่างดี

จริงๆ ความหมายดีมากเลยครับพี่หมี่ ผมชอบมาก เพียงแต่ผมแค่ไม่เข้าใจเรื่องการละคำน่ะครับ ผมรู้สึกเหมือนมันขาด verb ยังไงไม่รู้ เหมือนมีการละคำ (ถ้าเป็นประโยคสมบูรณ์น่าจะต้องประมาณ "สันติมิอาจ (มี/หา) ได้ด้วยสงคราม" แต่ของพี่ได้ใจความ ได้อรรถรส แม้จะมีการละคำออกไปบ้าง ทำให้ดูรูปประโยคออกจะแปลกนิดๆ (อย่างน้อยก็สำหรับผม))... แต่ถ้าใส่แบบของผมก็ไม่ดี เพราะคำเกิน ...

เลยอยากขอคำชี้แนะจากพี่น่ะครับ ว่าถ้าจะเขียนกลอนหรือโคลงโดยใช้การละคำแบบนี้ เราควรจะใช้ยังไงจึงจะไม่ผิดน่ะครับ

ตัวผมเองก็ไม่ค่อยได้แตะภาษาไทยมาหลายปี ตอนนี้เหมือนไม่ค่อยรู้ภาษายังไงไม่รู้ :(
ขนาดเขียนร้อยแก้ว ยังต้องเช็คไวยากรณ์เลยครับ (กลัวผิด)

Comment #6
Posted @25 ส.ค.53 20.32 ip : 118...146

การละคำก็คือการตัดคำทิ้งไปซะมั่งน่ะครับ กระชับรวบรัดได้น้ำได้เนื้อ ก็พอ

ประโยคที่ว่า สันติมิอาจได้ด้วยสงคราม  นั้น จริงๆก็ไม่ได้ละอะไรหรอก มิอาจได้ คำนี้ก็สมบูรณ์ในตัวเองแล้วครับ ในสมัย ไม้ เมืองเดิม ก็ใช้สำนวนแบบนี้แหละครับ


มีคำกล่าวติดตลอกทีเล่นทีจริงในหมู่นักเขียนรุ่นผม ว่าหากอยากเป็นนักเขียน ต้องโยนหลักการใช้ภาษาทิ้งไปซะก่อน เท่าที่รู้มา นักเขียนทั่วโลกก็ทีเล่นทีจริงอย่างนี้ทั้งนั้น เพราะไวยากรณ์นั้นมีไว้เพื่อเป็น "แบบ" เท่านั้น สามารถที่จะ "เล่น" กับไวยากรณ์ได้ครับ

ให้จำไว้อย่าง การเขียนคือการสื่อชนิดหนึ่ง หากผู้รับสารเข้าใจก็โอเค ที่เหลืออยู่ที่ทักษะและฝีมือ ว่าจะสามารถโน้มนำผู้รับสารให้คล้อยตามทั้งประเด็นและอารมณืได้มากน้อยแค่ไหนครับ

Comment #7
แค่ง (Not Member)
Posted @26 ส.ค.53 11.02 ip : 119...78

หลงวงพ่อวัดทุ่งประทุมทอง ให้ศีลทุกที ผิดทุกครั้ง ไม่เคยเหมือนเดิม บางครั้งท่านเริ่มจากมุสาและจบลงที่ กาเมฯ  ไปไหว้ท่านหนล่าสุด ท่านเริ่มที่ อทินนาและจบลงที่ ปานาติปาตา แต่ครบห้าข้อนะครับ  เณรฐาน  ดีกรีสามเณรภาคฤดูร้อน 3 ปีซ้อน หัวเราะคิก ท่านท่องศีลผิด  ย่าก้มกราบมือลูบหัวบอกว่า  ท่านไม่ผิดศีล              อ่านเรื่องคุณสองคน ผมนึกถึงเรื่องเมื่อวานใครว่าไม่เกี่ยว ผมว่าคล้ายกันอ้าว

Comment #8
Posted @26 ส.ค.53 12.32 ip : 69...88

การเขียนคือการสื่อชนิดหนึ่ง หากผู้รับสารเข้าใจก็โอเค ที่เหลืออยู่ที่ทักษะและฝีมือ ว่าจะสามารถโน้มนำผู้รับสารให้คล้อยตามทั้งประเด็นและอารมณืได้มากน้อยแค่ไหน

อันนี้เห็นด้วยเต็มๆ ครับ เพราะว่าบางทีเขียนเยิ่นเย้อ ผู้รับสารก็ขี้เกียจอ่าน สื่อสารได้ไม่ครบอยู่ดี ...

ขอบคุณครับ:)

Comment #9
Posted @26 ส.ค.53 21.59 ip : 113...193

คุณแค่งพูดน่าคิดครับ ระหว่าง "รูปแบบ" หรือ "พิธีกรรม" เป็นเพียงองค์ประกอบเท่านั้น ไม่ใช่ใจความประเด็นหลัก ไม่ว่าจะเอาศีลข้อไหนขึ้นก่อน ศีล 5 ก็ยังอยู่ครบ

Comment #10
Posted @27 ส.ค.53 13.03 ip : 69...88

ชอบแนวคิดคุณแค่งครับ แต่ผมว่าประเด็นหลักคืออะไรขึ้นกับกรณีนะครับ น้าหมี่ บางครั้ง การสื่อสารก็ต้องมีมิติของเวลาเข้ามาเกี่ยว

เพื่อนผมคนนึงที่เป็นอาจารย์สอนเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ (ซึ่งขอออกตัวว่าผมไม่รู้เรื่องใดๆ ในหลักการปกครองเลยครับ) เคยคุยให้ผมฟังว่า เขาไม่เคยปลูกฝังให้นักเรียนจดจำปี พศ หรือ คศ ของเหตุการณ์ใดๆ แต่หากว่าเราจะวิเคราะห์แรงจูงใจ หรือที่มาของทฤษฏีและแนวคิดทางรัฐศาสตร์ให้ได้อย่างถึงแก่นแล้ว เราต้องสามารถเชื่อมโยงแนวคิดพวกนั้นกับเหตุการณ์ในอดีตที่ทำให้มันเกิดขึ้นมาให้ได้ เพราะงั้นจึงต้องรู้ว่าประวัติศาสตร์เป็นอย่างไร  ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไรครับ

.. พี่คิดว่าไงขะรับ??

Comment #11
Posted @28 ส.ค.53 22.50 ip : 118...251

เห็นด้วยบางส่วนครับ

ปีเหตุการณ์ต่างๆนั้นผมก็เคยคิดว่าไม่สำคัญ และไม่เคยจำมันเลยมาตั้งแต่เด็ก ครั้นตอนนี้ผมกลับต้องมานั่งทบทวนมันอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะเหตุการณ์รัฐศาสตร์-ประวัติศาสตร์

อย่างกรณีการลำดับเหตุการณ์สำคัญๆในช่วงกรุงศรีอยุธยา แม้จนบัดนี้ผมก็ยังจำไม่ได้ว่าอะไรก่อนอะไรหลัง เช่นสมัยพระเจ้าเสือกับพระเพทราชา หรือใครชิงใครใครใหญ่กว่าใคร ผมจำไม่ได้แม้สักนิดเดียว ทั้งที่อ่านพงศาวดารมาแล้ว มาคิดอีกทีว่าหากผมจำปี ว่าใครเป็นใหญ่ในปีนั้นๆ มันก็จะง่ายขึ้นในการจำ

เพื่อนของน้องทรายอาจต้องการให้ นศ. เข้าใจเหตุการณ์ว่าใครทำอะไรอย่างไร แล้วลำดับมันจะมาเองก็เป็นไปได้ครับ เพียงแต่หากให้จำปีไว้บ้าง มันก็น่าจะทำให้ง่ายต่อการจำขึ้น

มันจึงเป็นเรื่องของความจำกับความเข้าใจแล้วล่ะ

นักวิชาการสมัยใหม่ปฏิเสธและขยะแขยงเรื่องการจำ ซึ่งก่อนหน้านี้ผมก็รู้สึกเช่นนั้น การเข้าใจจะทำให้เราวิเคราะหืได้

แต่เมื่อผมลำดับเหตุการณ์ตนเอง ว่าทำไมจึงชอบเขียนกลอน ก็พบว่าทุกสิ่งเริ่มต้นมาจากการจำทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเพลงร้องเรือ(กล่อมเด็กภาคใต้) บทโนรา บทหนังตะลุง บทอาขยาน โดยเฉพาะบทเพลงต่างๆในวัยเด็ก มันคือการจำทั้งสิ้น จำเนื้อร้อง จำภาพตนเองในวันที่ร้องเพลงนั้นในสถานที่นั้นในห้วงเวลานั้น จำความรู้สึกตอนนั้น จำได้ว่าทำไมร้องเพลงนั้น ร้องให้ใครฟัง  จากนั้นผมก็จะสามารถลำดับเรื่องราวต่างๆเป็นจิ๊กซอว์ โดยใช้ปีเหตุการณ์เป็นตัวโยง เช่นตอน ป.3 ผมร้องเพลงหน้าห้องในวิชาขับร้อง ใช้เพลงหัวอกพ่อสื่อ ของภูมินทร์ อินพันธ์ ภูมินทร์ดังจากเพลงขี่เก๋งอย่าลืมเกวียน ป.3 ตอนนั้นของผมอายุเท่าไหร่? ก็คิดต่อว่าผมเข้าเรียน ป.เตรียมเมื่ออายุ 7ขวบ  ดังนั้น ป.3 ของผมก็ต้อง 10 ขวบ ผมเกิดปี 2511 ดังนั้น ป.3 ของผมจึงเป็นปี 21 ปี 21 เกิดอะไรขึ้นบ้าง? แล้วภาพมันก็จะตามมาด้วยปีเหตุการณ์ครับ

ในความหมายของผม ผมเห็นด้วยกับวิธีการเข้าใจ แต่ผมยืนยันว่าไม่ควรละเลยหลงลืมหรือปฏิเสธการจำปีเหตุการณ์ด้วย ผมเคยคิดว่าไม่สำคัญที่เราจะจำ แต่เมื่อเรารู้ว่าปีนั้นๆมันเกิดอะไรขึ้นบ้าง มันก็จะเป็นการย้อนทวนวิธีคิดของเพื่อนน้องทรายครับ หากเปรียบวิธีคิดเพื่อนน้องทรายเป็นลักษณะดิ่งลง วิธีจำก็จะเป็นลักษณะชี้ขึ้น หมายความว่าในระยะทางของเส้นชี้หรือดิ่งนั้น คืออันเดียวกัน เพียงแต่จะเลือกใช้วิธีไหน แต่เพื่อนน้องทรายจะรู้หรือว่านศ.คนไหนจะสามารถใช้วิธีการใดได้ประโยชน์สูงสุด

ผมเข้าใจเอาเองว่าการที่สอนให้จำปีเหตุการณ์นั้น เพราะมัน "ง่าย"ที่สุดแล้วในการจำประวัติศาสตร์  ในรัฐศาสตร์เองก็คือประวัติศาสตร์หนึ่ง

ผมยกตัวอย่างเพลงร็อกก้แล้วกัีน

ยุค 60 เป็นยุคร็อก เรียกรวมๆว่ายุค rock'n'roll (ซึ่งต่างจากร็อกยุค 50 และอยู่ในความหมายที่หลากหลายมาก ไม่จำกัดเพียงกีตาร์ฮีโรหรือเอฟเฟคตะบี้ตะบัน) ยุค 70 เป็นยุคฮาร์ดร็อก พอปลายๆยุค 70 ก็จะพัฒนาไปเป็นเฮฟวี่ เมทัล และเริ่มกำเนิดตระกูลเมทัล ยุค 80 เป็นยุคดีสโก้ พอยุค 90 ก็เป็นร็อกตระกูลอัลเทอร์เนทีฟ,กรันจ์,

การแบ่งยุคโดยใช้ปีเหตุการณ์มันจึงง่ายต่อการลำดับเรียงเรียงเหตุการณ์

หากเราไม่จำปีเหตุการณ์ เราอาจสับสนและสลับเหตุการณ์ได้ ง่ายๆเลยก็คือเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 แต่เรามักได้ยินคำว่า 16 ตุลา ใช่ไหม? และเอา 14 ตุลา ไปปนเปกับ 6 ตุลา 19 อีกชั้นนึง

จำกับเข้าใจต้องควบคู่กันไปครับ

แสดงความคิดเห็น

« 3575
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง

งานเขียนของข้าพเจ้า

personมุมสมาชิก

Last 10 Member Post

Web Statistics : online 0 member(s) of 32 user(s)

User count is 2281187 person(s) and 9183249 hit(s) since 30 เม.ย. 2567 , Total 550 member(s).