ความสุขของกะทิ-ซีไรต์ โอว
ผมสงสัยว่า ผมคาดหวังกับรางวัลว่าต้องให้กับหนังสือหนักๆ หนังสือที่สร้างสรรค์เพื่อกระทบต่อสังคม หนังสือที่ผู้เขียนทำงานอย่างหนักเพื่อกลั่นออกมาเป็นผลงานที่โหดหินเกินไปหรือเปล่า?? !!!
แต่ผมผิดหวัง และผิดคาดเหลือเกิน และก็อยากจะบอกว่า ผมเห็นด้วยกับ รวมเรื่องสั้น เจ้าหญิง , ช่างสำราญ ทั้ง 2 เล่ม เป็นหนังสือที่ผมชอบอ่าน และเห็นว่าควรได้รางวัล แต่พอมาความสุขของกะทิ ผมว่ามันยังไม่ถึงอารมณ์นั้น -- อารมณ์มันเหมือนนิยายตลาดๆ มากกว่าจะเป็นเรื่องสร้างสรรค์น่ะ
สำหรับ ความสุของของกะทินั้น เปิดเรื่องได้อย่างน่าสนใจ คือ เป็น โลกของกะทิ ค่อนข้างจะ nostalgia โหยอดีตสักหน่อย เธออยู่กับตา-ยาย หนังสือบรรยายภาพบรรยากาศชนบท ผู้เขียนเชื่อมโยงมันเข้ากับโลกปัจจุบัน โดยให้ตานั้นเคยเป็นทนายความชื่อดัง และยายก็เป็นอดีตเลขาเจ้านายใหญ่โต (เนื้อเรื้องคล้ายๆกับนิยายเป็นตอนๆในนิตยสารมากไปหน่อย)
ผู้เขียนพยายามวาดภาพให้เราเห็นครอบครัว ตา-ยาย หลาน ด้วยตัวเอขงของเธอ ในบทแรกๆนั้น บอกได้ว่าเป็นตัวหนังสือที่มีชีวิตจิตใจ เธอทำได้สำเร็จกับมุขต่างๆครับ ปิ่นโตก็พูดได้ กะละมังก็มีคำถาม ไม้หนีบผ้าก็มีสีสัน
เป็นที่รู้กันว่า กะทิอยู่กับตา ยาย พ่อ แม่ไปไหนก็ไม่รู้ แล้วอะไรคือ ความสุขของกะทิ?? เสน่ห์อย่างเดียวของหนังสือคือ การเอาความรู้สึกของกะทิไปตั้งเป็นชื่อบทในตอนต้นๆ แม้ว่าในตอนต้นจะไม่มีใครรู้เลยว่า แม่ของเธอไปไหน บางบทเขาให้ชื่อว่า กะทิอยากให้แม่ไปรับกลับจากโรงเรียนบ้าง แต่พอผ่านกลางเรื่องหลังจากกะทิพบแม่ของตัวเองแล้ว ก็กลายเป็น..นิยายที่บรรยายเรื่องราวทั่วๆไป
หนังสือใช้วิธีการคลี่คลายเรื่องตามระยะเวลา เพื่ออธิบายให้คนอ่านได้เข้าใจถึงความผูกพันของตัวละคร ความรู้สึกนึกคิด แม้ว่าจะเติบโตไปกับสังคมสมัยใหม่ --- ความต่อเนื่องของการอ่านมาสะดุดตรงนี้ หลังจากกะทิมาพบกับแม่แล้ว สิ่งทีผู้เขียนพยายามมทำก็คือ อธิบายได้เหมือนนิยายเป็นตอนๆในนิตยสาร ไม่มีจิตวิทยาเด็ก ผมไม่เชื่อว่า เด็ก 9 ขวบจะคิดได้อย่างในหนังสืออธิบาย สำหรับคนโตๆแล้วสัก 18 ก็ยังจะคิดได้ลำบาก พูดได้ว่า ในตอนกลางเรื่องไปจนจบ กะทิเธอโตเกินไป ...
มีคนบอกว่านี่คือวรรณกรรมเยาวชน แต่ผมอ่านแล้วก็ให้รู้สึกว่าเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ที่ไปเอาความคิดให้เด็กคิดมากกว่า มุมมองของกะทินั้นเป็นมุมโตเกินไป แล้วก็ไม่รู้ว่าความสุขของกะทิคืออะไร (หว่า)
หนังสือหนาเพียง 114 หน้า อ่านไม่เกิน 2 ชั่วโมงก็จบ .. จบแล้วจบเลย ไม่อยากอ่านซ้ำอีก
ผมสงสัยเหมือนกัน ว่าถ้าหากคณะกรรมการเห็นว่าหนังสือนี้ได้รางวัล ต่อไปศิลปินจะสร้างสรรค์งานอะไรออกมารับใช้สังคม(วรรณกรรม) อีกดี เพราะว่า งานดีๆ ไม่ได้รางวัล หรือว่าศิลปินก็ควรทำงานของศิลปินไป ไม่ต้องสนใจรางวัลซีไรต์ (เอ้อ แต่มันมีผลต่อรายได้ ชื่อเสียงนะ)
ถ้าบอกว่าเป็นวรรณกรรมเยาวชน ผมว่าผมเห็นด้วยกับ รวมเรื่องสั้น เจ้าหญิง , ช่างสำราญ ทั้ง 2 เล่ม เป็นหนังสือที่ผมชอบอ่าน และเห็นว่าควรได้รางวัล แต่เรื่องนี้ ไม่ถึงอารมณ์สักเท่าไร ..